THAICULTURES.COM
นาฏศิลป์ไทย

นาฏศิลป์ไทย

นาฏศิลป์ไทย เป็นศิลปะการแสดงที่ประกอบไปด้วยการร่ายรำ ดนตรี และการแต่งกาย ผสมผสานระหว่างศิลปะและวัฒนธรรมของไทยที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน โดยแต่ละพื้นที่ก็จะมีชื่อเรียกและมีลีลาท่าทางการแสดงที่แตกต่างกันไปตามความเชื่อ ศาสนา ภาษา และภูมิอากาศของแต่ละท้องถิ่น

ความเป็นมาของนาฏศิลป์ไทย

การแสดงนาฏศิลป์ไทย 4 ภาค มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ สันนิษฐานว่าน่าจะมีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เดิมทีเป็นการแสดงออกทางธรรมชาติของมนุษย์ เช่น การเต้นรำเพื่อบูชายัญเทพเจ้า การเต้นรำเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลต่าง ๆ การเต้นรำเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้าย เป็นต้น

นาฏศิลป์ไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียและวัฒนธรรมจีน ในช่วงสมัยสุโขทัย นาฏศิลป์ไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดีย ผ่านทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ทำให้เกิดศิลปะการแสดงแบบใหม่ที่เรียกว่า “นาฏศิลป์ไทย โขน” ซึ่งเป็นการแสดงที่ผสมผสานระหว่างการร้อง การเต้นรำ และการต่อสู้

ประเภทของนาฏศิลป์ไทย

นาฏศิลป์ไทยมีกี่ประเภท สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

1. รำ คือการแสดงที่มุ่งเน้นถึงศิลปะท่วงท่า ไม่มีการแสดงเป็นเรื่องราว บางชุดตัดตอนมาจากวรรณคดี บางชุดเป็นการชมความงาม หรือบางทีก็ไม่มีเนื้อเพลง เช่น การรำหน้าพาทย์ เป็นต้น การรำจะแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ รำเดี่ยว รำคู่ รำหมู่ และรำละคร

2. ระบำ คือการแสดงที่มีความหมาย ใช้ผู้แสดงสองคนขึ้นไป โดยจะเป็นการแสดงชุดนั้นผ่านทางบทร้องเพลง หรือการแต่งกายที่มาจากเรื่องราวต่าง ๆ เช่น วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี และเป็นการแสดงที่จบในชุด ๆ เดียว เป็นต้น แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ระบำมาตรฐาน และระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่

3. ละคร คือการแสดงเรื่องราวโดยมีตัวละครต่าง ๆ ดำเนินเรื่อง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • ละครแบบดั้งเดิม คือ โนห์ราชาตรี ละครนอก ละครใน
  • ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ คือ ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง ละครเสภา ละครพูด ละครร้อง ละครสังคีต

4. มหรสพ คือการแสดงนาฏศิลป์ไทยหมายถึงให้ความรื่นเริง หรือการแสดงที่ใช้ในงานพิธีต่าง ๆ มีรูปแบบและวิธีการแสดงที่เป็นแบบแผน เช่น การแสดงโขน เป็นต้น

การแต่งกายนาฏศิลป์ไทย

การแสดงนาฏศิลป์ไทยทั้งโขนและละครนั้น ได้จำแนกผู้แสดงออกเป็น 4 ประเภทตามลักษณะของบทบาท คือ ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์ และตัวลิง ซึ่งในแต่ละตัวละครนั้นนอกจากบุคลิกลักษณะที่ถ่ายทอดออกมาให้ผู้ชมทราบจากการแสดงแล้ว เครื่องแต่งการของผู้แสดงก็ยังเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่า ผู้นั้นรับบทบาทแสดงเป็นตัวใด

  • ตัวพระ เครื่องแต่งกายของตัวพระมีลักษณะคล้ายเทพมีวิชา
  • ตัวนาง เครื่องแต่งกายของตัวนางจะใช้ตามความเหมาะสมกับการแสดงนั้น ๆ เช่น ห่มผ้าสไบ นุ่งโจงกระเบน และสวมชุดไทยต่าง ๆ เป็นต้น
  • ตัวยักษ์ เครื่องแต่งกายของผู้แสดงเป็นตัวยักษ์ เป็นเครื่องยักษ์
  • ตัวลิง เครื่องแต่งกายของผู้แสดงเป็นตัวลิง

เนื้อหาที่คุณอาจสนใจ: วิจิตรศิลป์

แหล่งอ้างอิง: https://th.wikipedia.org/wiki/นาฏศิลป์ไทย